มาตรฐานชีวิตระหว่างคนกลันตันกับปัตตานี

มีโอกาสขับรถเข้ากลันตันหลายครั้ง ตอนแรกนึกว่าโครงสร้างพื้นฐาน ถนน การวางผังเมือง ทางกลันตันต้องดีกว่าปัตตานีแน่เพราะมาเลเซียเป็นประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่ดีกว่าไทย แต่ในรัฐกลันตันผมคิดว่า โครงสร้างพื้นฐานในปัตตานีดีกว่า ถนนกว้างกว่า ตรงกว่า คุณภาพดีกว่า การวางผังเมืองเป็นระเบียบมากกว่า โดยภาพรวมแล้วปัตตานีดูดีกว่ากลันตัน แต่ก็มีหลายอย่างที่ทำให้กลันตันดีกว่าคือ
1. บ้านเรือนฝั่งกลันตันใหญ่กว่า บ้านโทรมๆไม่ค่อยมี
2. คนส่วนใหญ่มีรถยนต์ขับ ประมาณ 70% ใช้รถยนต์ และ 30% ใช้มอเตอร์ไซค์ ต่างจากปัตตานีที่คนใช้รถยนต์ประมาณ 30% และมอเตอร์ไซค์ 70%
3. ตัวเมืองโกตาบาห์รู มีขนาดใหญ่มากถ้าเทียบกับปัตตานี

ถ้ามองดูดีๆจะพบว่า ส่ิงที่สร้างความแตกต่างคือ คนชั้นกลางในกลันตันมีจำนวนมากกว่าในปัตตานี เนื่องจากที่กลันตันมีแหล่งงานมากกว่า ทำให้ประชาชนมีรายได้ แต่ที่ปัตตานีไม่ค่อยมีงาน คนต้องไปทำงานต่างถิ่นและเงินเดือนน้อย อีกอย่างคือระดับการศึกษา ฝั่งกลันตันประชาชนรากหญ้ามีสัดส่วนการศึกษามากกว่าปัตตานี ทำให้คนชั้นกลางมากกว่า พอคนมีการศึกษามีงานทำ ก็สามารถสร้างบ้านได้และซื้อรถยนต์ได้ ดังนั้นแนวทางในการเพิ่มคนชั้นกลางในปัตตานีคือ ต้องมีแหล่งงานเพิ่มขึ้นทั้งการดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติหรือต่างจังหวัด หรือการพัฒนาส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่ให้มีศักยภาพในการจ้างงานให้มากขึ้น วิธีการที่ง่ายที่สุดคือส่งเสริมการท่องเที่ยว เปิดด้านชายแดนให้มากขึ้น ให้คนมาเล หรือคนนอกพื้นที่มาเที่ยวให้มากขึ้น และสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเพิ่มคนชั่นกลางคือการช่วยเหลือคนยากจนให้มีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดี ลดการลาออกระหว่างทาง

ส่วนเหตุผลที่กลันตันมีโครงสร้างพื้นฐานไม่ดีผมว่าน่าจะเกิดจากพรรคปาสเป็นพรรคฝ่ายค้านมาโดยตลอดจึงไม่ค่อยได้งบประมาณเท่าไหร่ อีกอย่างคนกลันตันเป็นรัฐอนุรักษ์นิยม ถือเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง

มีเดียน จูมะ Meedian Chumat